ภาษาสันสกฤตเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา รหัส 220133
หมวดที่ 1 ข้อมูลโดยทั่วไป
รหัสและชื่อวิชา : 220133 ภาษาสันสกฤตเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา (Sanskrit for Studying Buddhism)
จำนวนหน่วยกิต : 3 หน่วยกิต (3 – 0 – 6)
หลักสูตรและประเภทของรายวิชา : เป็นรายวิชาที่อยู่ในวิชาเอกพุทธศาสนศึกษา
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา मानित्य् अर्गजाति ตำแหน่ง ผู้ประสานงานและจัดทำ มคอ.3 และ มคอ.5
อาจารย์ผู้สอน मानित्य् अर्गजाति ตำแหน่ง อาจารย์
ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน : ภาคการศึกษาที่ 1
รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) : ไม่มี
รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisite) : ไม่มี
สถานที่เรียน : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด : 13 กรกฎาคม 2560
จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
2. นักศึกษาสามารถอ่านและเขียนอักษรเทวนาครีเบื้องต้นได้
3. นักศึกษาสามารถอธิบายส่วนประกอบเบื้องต้นทางไวยากรณ์ของภาษาสันสกฤต เช่น นาม สรรพนาม กิริยา การันต์ การสนธิ การแจกนาม
4. นักศึกษาสามารถบอกและวิเคราะห์ภาษาสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทยได้
5. นักศึกษาสามารถอ่านและแปลความหมายข้อความ สุภาษิตจากคัมภีร์สันสกฤตพุทธศาสนาได้
วัตถุประสงค์ในการพัฒนา / ปรับปรุงรายวิชา
เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับการศึกษาในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ลักษณะและการดำเนินการ
คำอธิบายรายวิชา ประวัติภาษาสันสกฤต หลักไวยากรณ์สันสกฤต การอ่านและการแปลภาษาสันสกฤต อักษรเทวนาครีกับภาษาสันสกฤต การเขียนคําภาษาสันสกฤตในภาษาไทย ภาษาสันสกฤตกับพระพุทธศาสนา ฝึกทดลองศึกษาค้นคว้าเนื้อหาพระพุทธศาสนาสั้นๆ จากเอกสารคัมภีร์สันสกฤตพระพุทธศาสนา
จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา บรรยาย 48 ชั่วโมง/ภาคการศึกษา
สอนเสริม ไม่มี
การฝึกปฏิบัติ ไม่มี
การศึกษาด้วยตนเอง 96/ภาคการศึกษา
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
นายมานิตย์ อรรคชาติ โทรศัพท์ :
เว็บไซต์ของหลักสูตร : www.buddhiststudies-nrru.net |
||
วัน/เดือน/ปี | ช่วงเวลา | วิธีการสื่อสาร |
ทุกวันพุธของสัปดาห์ | 12.00 – 16.30 น. | พบที่ห้องพักอาจารย์ อาคาร 36 ห้อง 36.06.05 |
กลุ่ม Social Network | ตลอดเวลา | Facebook Group |
เนื้อหา
บทที่ 1 | บทนำ | 6 ชั่วโมง | |
1.1 ประวัติภาษาสันสกฤต | |||
1.2 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษาสันสกฤต | |||
สรุป | |||
บทที่ 2 | อักษรเทวนาครี | 6 ชั่วโมง | |
2.1 สระ | |||
2.2 พยัญชนะ | |||
2.3 การฝึกเขียนและท่องอักษรสระและพยัญชนะ | |||
สรุป | |||
บทที่ 3 | นามศัพท์ | 6 ชั่วโมง | |
3.1 ลิงค์ วจนะ การันต์ วิภักติ | |||
3.2 การแจกคำนามที่เป็น อชันตะ | |||
3.3 การแจกคำนามที่เป็น หลันตะ | |||
สรุป | |||
บทที่ 4 | คำสรรพนาม | 6 ชั่วโมง | |
4.1 การแจกสรรพนาม | |||
4.2 การเขียนสรรพนาม | |||
4.3 การอ่านสรรพนาม | |||
4.4 การปริวรรตสรรพนาม | |||
สรุป | |||
บทที่ 5 | สังขยา | 6 ชั่วโมง | |
5.1 ปรกติสังขยา | |||
5.2 ปูรณสังขยา | |||
สรุป | |||
บทที่ 6 | อัพยศัพท์ | 6 ชั่วโมง | |
6.1 อุปสรรค | |||
6.2 นิบาต | |||
6.3 ปรัตยยะ | |||
สรุป | |||
บทที่ 7 | กริยา ธาตุ และสนธิ | 6 ชั่วโมง | |
7.1 กริยาอาขยาต กรรตุวาจก | |||
7.2 กริยากรรมวาจก | |||
7.3 กริยาภาววาจก | |||
7.4 ธาตุ | |||
7.5 สนธิ | |||
สรุป | |||
บทที่ 8 | ฝึกแปล ปริวรรต | 6 ชั่วโมง | |
8.1 พุทธประวัติ | |||
8.2 สุภาษิตสันสกฤต | |||
8.3 ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร | |||
สรุป |
วิธีสอนและกิจกรรม
- ศึกษาจากเอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาสันสกฤตเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา
- อภิปรายถึงคุณค่าของหลักธรรม คุณธรรม จริยธรรม ซึ่งปรากฏในวิชาภาษาสันสกฤตเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับบทเรียน
- วิเคราะห์กรณีศึกษาต่างๆ
- ศึกษาสารสนเทศจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ www.lmsonline2.nrru.ac.th
สื่อการเรียนการสอน
- เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาสันสกฤตเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา
- โปรแกรมนำเสนอวิชาภาษาสันสกฤตเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา
- วีดิทัศน์
- สารสนเทศจากการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www.lmsonline2.nrru.ac.th
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผล
- คะแนนระหว่างภาค 70 คะแนน
– คะแนนกิจกรรมภายในชั้น 20 คะแนน
– คะแนนงานรายบุคคลและรายงานกลุ่ม 20 คะแนน
– คะแนนการสอบกลางภาค 30 คะแนน
- คะแนนสอบปลายภาค 30 คะแนน
การประเมินผล
คะแนนระหว่าง 80 – 100 ได้ระดับ A
คะแนนระหว่าง 75 – 79 ได้ระดับ B+
คะแนนระหว่าง 70 – 74 ได้ระดับ B
คะแนนระหว่าง 65 – 69 ได้ระดับ C+
คะแนนระหว่าง 60 – 64 ได้ระดับ C
คะแนนระหว่าง 55 – 59 ได้ระดับ D+
คะแนนระหว่าง 50 – 54 ได้ระดับ D
คะแนนระหว่าง 0 – 49 ได้ระดับ F